foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
.

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

000843971
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
สถิติรวม
99
435
5047
834944
12165
15833
843971

Your IP: 3.145.91.37
2024-05-18 10:48
  1. เรื่อง นวัตกรรม หมอนน้อยคอยรัก :ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยที่มีแผลฉีกขาด โรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 
  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                การบาดเจ็บที่ศีรษะ ( Head Injury)  เป็นสาเหตุการเสียชีวิตและความพิการที่สำคัญที่สุดของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกชนิดทั่วโลก  ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร  เป็นเพศชาย  มากกว่าเพศหญิง  และมีอายุระหว่า 15-44 ปี  ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ประเทศชาติต้องสูญเสีย  ทั้งแรงงานและงบประมาณจำนวนมาก  นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว  เศรษฐกิจ  สังคม และประเทศชาติ อีกด้วย  โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่ได้รับบาดเจ็บและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น  จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่าร้อยละ 70-90  ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ  เป็นผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะเล็กน้อย  แม้ว่าการบาดเจ็บดังกล่าวจะส่งผลต่อการบาดเจ็บทางร่างกายไม่รุนแรงแต่ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง  ส่งผลให้โครงสร้างและการทำหน้าที่ของสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงไป  อย่างไรก็ตามผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยจากการเฝ้าระวัง  มากกว่าผู้ป่วยผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลางและรุนแรง  และจากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้ปฏิบัติกิจกรรมได้ลดลง  โดยมีสาเหตุจากพยาธิสภาพ  ส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน( Post concussion syndrome) โดยพบว่าร้อยละ 30-40  ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย  จะมีกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน  พบได้ตั้งแต่วันแรกภายหลังได้รับบาดเจ็บ  ซึ่งการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสม  จะทำให้ผู้ป่วยฟื้นหายและส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

             ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย และมีแผลฉีกขาดร่วมด้วยนั้น  ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลที่ศีรษะ  และการเย็บแผลเป็นหัตถการที่อยู่ในขอบเขตซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง สามารถปฏิบัติได้ โดยก่อนการปฏิบัติหัตถการนั้น ๆ  ต้องประเมินอาการ ขนาดบาดแผลเสียก่อน ว่าควรได้รับการเย็บแผลหรือไม่ การประเมินบาดแผล  ประกอบด้วยดูการสูญเสียเลือด  และประเมินสัญญาณชีพ  ดูขนาดและลักษณะของบาดแผล  ว่ามีการถลอก  ฟกช้ำ  ห้อเลือด  หรือฉีกขาดหรือไม่  และลงความเห็นว่าต้องได้รับการเย็บแผล   ซึ่งการเย็บแผลมีวัตถุประสงค์  เพื่อเป็นการห้ามเลือด (stop bleeding) ซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ (reconstruction) ลดอาการปวดและติดเชื้อ (decrease pain and infection)  ลดรอยแผลที่อาจเกิดจากบาดแผลนั้น  (reduced scar) รวมถึงเพื่อการเพิ่มหายของแผล (increase healing of ulcer)  โดยหลักในการเย็บแผล จะประกอบด้วย  1) การยึดหลักปราศจากเชื้อ (sterile technique)   ประกอบด้วยชุดเย็บแผลและถุงมือที่ใช้ต้องผ่านการนึ่งที่สะอาดปราศจากเชื้อ 2)การเลือกเข็มให้เหมาะกับแผลที่จะเย็บ ซึ่งจะมีเข็ม Cutting  คือเข็มที่มีความคมด้านข้าง ใช้เย็บเนื้อที่มีความเหนียว เข็ม Taper หรือเข็มกลม Round  ใช้สำหรับเย็บเนื้ออ่อน  ที่ไม่ต้องการให้ขอบเข็มบาดเนื้อ 3)วัสดุที่ใช้เย็บแผลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน  มี 2 ประเภท  ได้แก่ประเภทที่วัสดุละลายได้เอง และชนิดที่ไม่ละลาย นอกจากนี้ จะเป็นผ้าก๊อส สำหรับซับเลือด สิ่งคัดหลั่งจากบาดแผลและสามารถหยุดห้ามเลือดได้และโดยเฉพาะการหยุดห้ามเลือดที่ศีรษะนั้น เป็นการกดห้ามเลือดทำได้ยากเนื่องจากศีรษะมีความกลม  มีเส้นผม  มีความลื่น  การติดพลาสเตอร์หรือพันผ้าพันแผลมีความยุ่งยาก  

               แต่จากข้อมูลสถิติผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ  ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจังหาร  ในปี 2559 - 2561  มีจำนวน 741, 746 และ 639 ราย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย  และมีแผลฉีกขาดที่ศีรษะ  ที่จำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลที่ศีรษะ จำนวน   145 ,130 และ 143  รายตามลำดับ  เป็นผู้ป่วยมีแผลที่ต้องทำการเย็บแผล จำนวนไม่เกิน 5  เข็ม จำนวน 116 , 104 และ 115 ราย, ผู้ป่วยมีแผลที่ต้องทำการเย็บแผล จำนวน 6-10 เข็ม  จำนวน 22 ,20 และ 21 ราย  และผู้ป่วยมีแผลที่ต้องทำการเย็บแผล จำนวนมากกว่า 10 เข็มจำนวน  7 , 6 และ 7  รายตามลำดับ (ที่มาข้อมูลสถิติผู้รับบริการหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน,รพ จังหาร : 2559-2561) และในการเย็บแผลฉีกขาดที่ศีรษะนั้นวิธีการเย็บแผลที่ศีรษะ จำเป็นต้องมีการห้ามเลือดหลังเย็บแผลเนื่องจากหนังศีรษะมีเส้นเลือดไปเลี้ยงจำนวนมาก  ทำให้เลือดออกได้มากกว่าอวัยวะอื่น และกอปรกับ ลักษณะของศีรษะมีความกลม มีเส้นผมที่ลื่น ถูกเลือดเปียกยิ่งมีความลื่นมากขึ้น จึงต้องมีการเอาวัสดุ  ได้แก่ ก๊อส  มาพันเป็นก้อนและมัดติดกับด้ายที่เย็บแผลให้ผู้ป่วยเพื่อทำการห้ามเลือดด้วย และบุคลากรผู้ปฏิบัติการเย็บแผลนั้น ต้องใช้เวลามากกว่า  5  นาที  และถ้าบุคลากรที่หมุนเวียนมาปฏิบัติที่หน่วยงานไม่มีทักษะความชำนาญในการเย็บแผล ยิ่งทำให้มีความล่าช้า เสียเวลาในการเย็บแผลเป็นเวลานานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากต้องพันผ้าก๊อสให้เป็นก้อน ตัดก๊อสให้ได้ขนาดกับแผล หลายครั้ง พบว่าเศษผ้าก๊อสหลุดลุ่ย  เป็นก้อนไม่สวยงามก่อนที่จะนำมาผูกมัดติดกับด้ายที่เย็บแผลแล้วและมัดติดกับด้ายที่เย็บทำได้ยากและทำให้เสียเวลาเพิ่มระยะเวลาการเจ็บปวดบาดแผลของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นมีผลต่อความพึงพอใจในการรับบริการอีกด้วย

               จากการทบทวนของผู้ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินและทีมนำทางคลินิก (Patient Care Team) ได้มีการระดมสมองจากบุคลากรผู้ปฏิบัติ เพื่อหาวิธีการในการจัดทำวัสดุช่วยเหลือในการกดห้ามเลือดหลังการเย็บแผลที่ศีรษะ จนได้ทดลองเอานวัตกรรมหมอนน้อยคอยรัก มาทดลองทำและนำไปใช้  โดยบุคลากรในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นผู้ทดลองผลิตวัสดุชิ้นนี้ขึ้นมาเอง และพบว่ามีความรวดเร็วในการหยิบใช้งาน  ลดระยะเวลาในการเย็บแผลลง  แต่ต้องปรับปรุงการจัดทำวัสดุให้สวยงามขึ้น  จึงได้ปรับปรุงรูปลักษณ์ของนวัตกรรมใหม่  ให้มีขนาด  และรูปลักษณ์  เหมาะกับขนาดของบาดแผล  ที่มีขนาดแตกต่างกัน

             ทีมวิจัย ได้ทบทวนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับทีมนำทางคลินิก ( PCT)  วิเคราะห์สาเหตุความล่าช้าของการเย็บแผล  จึงได้พัฒนานวัตกรรมที่สามารถห้ามเลือดหลังเย็บแผล และลดระยะเวลาการเย็บแผลที่ศีรษะ ทีมวิจัยจึงได้พัฒนา นวัตกรรมหมอนน้อยคอยรัก เพื่อใช้ห้ามเลือดหลังเย็บแผล ลดระยะเวลาการเย็บแผลที่ศีรษะ  และเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย  สามารถขยายผลการนำไปใช้ในสถานบริการที่ประสบปัญหาเดียวกัน

  1. คำถามการวิจัย

          การใช้ หมอนน้อยคอยรัก  ส่งผลต่อผลลัพธ์ในการดูแลเย็บแผลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างไร

         

  1. วัตถุประสงค์ ทั่วไป ,เฉพาะ

            1. นการร็็็เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล้กน้อยที่มีแผลฉีกขาด

            2. เพื่อพัฒนาวิธีการในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยที่มีแผลฉีกขาด

 

5.ขอบเขตของการวิจัย

ขอบเขตพื้นที่  โรงพยาบาลจังหาร  อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

ขอบเขตเนื้อหา

รูปแบบการวิจัย  การศึกษาและพัฒนา….. เริ่มด้วยการวิเคราะห์สภาพปัญหา    แล้วทำการพัฒา

ทางเลือก และวิธีการใหม่ ๆ  ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการวิจัยทั่วไป  แต่เป็นการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมให้ได้มาตรฐาน  ก่อนที่จะทำการทดลองใช้ในสภาพจริง  เพื่อการตรวจสอบคุณภาพ

กระบวนการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนที่สำคัญมี 3 ขั้นตอน  คือ

ขั้นที่ 1  สร้างต้นแบบนวัตกรรมและพัฒนาต้นแบบ  โดยวิเคราะห์ปัญหา สภาพการณ์  และบริบทของหน่วยงาน  ประเด็นปัญหาสำคัญ  รวบรวมข้อมูล ประชุมหารือร่วมกับทีมนำทางคลินิก กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด หาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค ออกแบบนวัตกรรม หมอนน้อย คอยรัก และแจ้งแนวทางการจัดทำ และการนำไปใช้ ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  โดยศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม  แล้วสรุปแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรม  และดำเนินการตามกระบวนการพัฒนานวัตกรรม  ภาพที่ 1  แสดงถึงแนวคิดหลักในการพัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้                                               

                                                                                       

                                                                  เดิมเวลาเย็บแผลที่ศีรษะต้องพันม้วนผ้าก๊อสก่อนจึงมัดใส่ด้ายที่เย็บ   

                                                                                      

                                                                    จึงได้คิดนวัตกรรม  เอาผ้าก๊อสที่ใช้อยู่  เพื่อมาทำเป็นก้อนม้วนขนาดต่างๆ

 

                                                                                      

                         ใช้ผ้าก๊อส ขนาด 3*3  มาทำโดย ขนาด S กว้างครึ่งหนึ่งของผ้าก๊อส ขนาด M กว้าง 1/3 ของผ้าก๊อสทั้งผืน ขนาด L กว้างเท่าผ้าก๊อส 3*3

                                                                                         

                                                                                               นำผ้าก๊อสตามขนาด  มาพันเป็นก้อนกลม

                                                                                          

                                                                                  และเย็บเข้าด้วยกัน  ด้วยด้ายเย็บผ้าธรรมดา  ให้สวยงาม

                                                                                         

                                                                              จะได้ นวัตกรรม หมอนน้อยคอยรักขนาด S  M  L  ที่สวยงาม

ขั้นที่ 2  ทดลองใช้นวัตกรรมแล้วปรับปรุง  ได้ต้นแบบนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

ทดลองให้กลุ่มตัวอย่างนำไปใช้  และปรับปรุงต้นแบบนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง   ตรวจสอบประสิทธิภาพในกลุ่มตัวอย่าง  ปรับปรุงต้นฉบับและนำไปทดลองใช้อีก จนได้ต้นแบบนวัตกรรมที่ได้คุณภาพตามเกณฑ์  ศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง

วัสดุและอุปกรณ์ในการจัดทำนวัตกรรม

     1.ผ้าก๊อส  ขนาด 3*3

     2.ด้ายเย็บผ้าสีขาว

     3.เข็มเย็บผ้า

     4.ไม้บรรทัด

     5. กรรไกร

                                                                                   

                                                         ทำหมอนน้อย ตามขนาด S ,M,Lและส่งให้ Supply  ทำ packingและsterile พร้อมใช้

                                                                                  

                                                                                             เย็บแผลที่ศีรษะ ตามกระบวนการเย็บปกติ

                                                                                   

                                                        และนำ นวัตกรรม หมอนน้อยคอยรัก  มาใช้ตามขนาดความยาวของแผลที่เย็บ ให้พอดี

                                                                                    

                                                มัด  นวัตกรรม หมอนน้อยคอยรักขนาดที่เลือกใช้ให้ติดกับแผล เพิ่มความรวดเร็วในการเย็บแผล

                                                                                    

                                                                                 จะได้ นวัตกรรม หมอนน้อยคอยรักหลังเย็บแผลที่สวยงาม

ภาพที่  2- 4  แสดงอุปกรณ์ที่ใช้สร้างต้นแบบนวัตกรรม

ข้อดี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตนวัตกรรม เนื่องจากใช้วัสดุที่มีในโรงพยาบาล  และส่งงานจ่ายกลางให้ทำให้ปราศจากเชื้อ (sterile technique)

กระบวนการสร้างต้นแบบนวัตกรรม 

  1. จัดหาก๊อส เข็มเย็บและด้าย จากหน่วยงานจ่ายกลาง
  2. นำเอาวัสดุมาทำเป็นต้นแบบนวัตกรรม ลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ คล้ายหมอนข้าง ตามขนาดที่ต้องการและนำไปทดลองใช้
  3. ผลการประเมินจากนวัตกรรมครั้งแรก มีขนาดความอ้วนเกินไป  ทำเป็นก้อนแน่นเกินไป  และมีความยาวขนาดเดียว  ผู้ปฏิบัติต้องได้ตัดให้มีขนาดพอดีกับแผล

       4. จัดทำนวัตกรรมต้นแบบใหม่อีกครั้ง โดยลดความแน่นของก๊อส ปรับให้มี  3  ขนาด และเย็บให้สวยงามขึ้น และเวลาบรรจุ 

          ให้มีการระบุขนาด  S ,M , L นำไปทดลองใช้

      5. ผลการประเมินการนำไปใช้  ครั้งที่ 2 พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติมีความสะดวก ใช้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาตัดก๊อสให้พอดีกับแผล และมีความพึงพอใจ 

          จึงนำไป ทดลองใช้นวัตกรรม และเก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลประสิทธิภาพ และคุณภาพของนวัตกรรม และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติใช้งาน

ขั้นที่ 3 สรุปผลการทดลอง และรายงานผลการนำไปใช้ โดยการติดตามรายงานอุบัติการณ์ความพร้อมใช้ในสถานการณ์จริง เผยแพร่ไปหน่วยงานอื่นและเครือข่ายโรงพยาบาลชุมชนในระดับบริการใกล้เคียงกัน

      วิธีการประเมินผล

      ประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม โดยใช้แบบสอบถามแบบประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ความพร้อมใช้ ความสะดวก การจัดเก็บและความสะอาด ความคิดเห็นต่อการนำไปใช้ System Usability Scale แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมและประเมินคุณภาพการให้บริการ ประเมิน Acceptability and Satisfaction Survey ประเมินผลจากการสุ่มสัมภาษณ์ สอบถามบุคลากรผู้ปฏิบัติการเย็บแผล ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่หมุนเวียนมาปฏิบัติงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลจังหาร ได้แก่ แพทย์  3  คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10  คน และเวชกิจฉุกเฉิน จำนวน  2  คน รวม  15  คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุกครั้งที่มีการใช้งานนวัตกรรม  แล้วนำมาสรุปรายงานผล

ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียว โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ( Purposive sampling) คือบุคลากรที่หมุนเวียนมาปฏิบัติงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลจังหาร ได้แก่ แพทย์ 3 คน พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน และเวชกิจฉุกเฉิน จำนวน 2  คน รวม 15 คน ทดลองใช้ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย ที่มีแผลฉีกขาดที่ศีรษะที่ต้องได้รับการเย็บแผล ในช่วงเวลาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562– เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

ตัวแปรในงานวิจัยและพัฒนา

ตัวแปรต้น  คือ นวัตกรรม หมอนน้อย  คอยรัก

ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพของ หมอนน้อย  คอยรัก

ขอบเขตระยะเวลา  ดำเนินการระหว่าง เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

        ระยะแรก คือการสร้างต้นแบบ :  เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2562

        ระยะที่ 2 ทดลองใช้นวัตกรรม  แล้วปรับปรุง  ได้ต้นแบบนวัตกรรม: หมอนน้อย  คอยรัก

เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 และนำไปใช้ เก็บข้อมูลประสิทธิภาพของการใช้งานและความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง  เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

       ระยะที่ 3 สรุปผลการทดลองและรายงานผล  เผยแพร่  นำไปปฏิบัติ : เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ประกอบด้วยเครื่องมือ  2  ชุด   ดังนี้

1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นกระบวนการพัฒนาและสร้างนวัตกรรม หมอนน้อย  คอยรัก

 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

          2.1 แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น  โดยครอบคลุมเนื้อหา  ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  ซึ่งได้ปรับปรุงจากแนวคิด ทฤษฎี  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แบบประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ความคิดเห็นต่อการนำไปใช้  System Usability Scale  โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุกครั้งที่มีการใช้งานนวัตกรรม

แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรม และการประเมินคุณภาพการให้บริการ ประเมิน Acceptability and Satisfaction Survey โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุกครั้งที่มีการใช้งานนวัตกรรม

แบบรายงานอุบัติการณ์ความพร้อมใช้ ความเสี่ยงของการไม่พร้อมใช้ของนวัตกรรม  เก็บข้อมูลทุกครั้ง เมื่อมีเหตุการณ์  แล้วนำผลมาทบทวนแก้ปัญหาร่วมกัน

 

การสร้างเครื่องมือ  กระบวนการพัฒนาและสร้างนวัตกรรม หมอนน้อย  คอยรัก  มีขั้นตอน  ดังนี้

1. สร้างเครื่องมือ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการการวิจัยและพัฒนา ( R&D )

2. นำเครื่องมือ เสนออาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบ จำนวน  3 ท่าน

3. นำนวัตกรรมไปใช้ในกลุ่มทดลอง ให้เป็นไปตามกระบวนการที่วางไว้

4. ปรับปรุงนวัตกรรม โดยนำเอาการประเมินมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงให้นวัตกรรม มีประสิทธิภาพและคุณภาพต่อไป

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้ 

1. ศึกษาเนื้อหา แนวคิด  ทฤษฎี  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2. กำหนดขอบเขตและโครงสร้างของเนื้อหาของแบบสอบถาม ที่จะใช้ในการวิจัย  เพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์และสมมุติฐานของงานวิจัย

  1. สร้างข้อคำถามและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน

4. นำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษา ความชัดเจนของภาษา และความตรงตามเนื้อหา ( Content validity)  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข  ก่อนนำเครื่องมือไปทดลองใช้

  1. ทดสอบเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการวิจัยแล้วนำไปทดสอบคุณภาพของเครื่องมือทางสถิติยนำมาปรับปรุงแก้ไข และวิเคราะห์คุณภาพ

ทดสอบเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้ในกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงที่ทำการวิจัยและนำไปทดสอบคุณภาพของเครื่องมือทางสถิติแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขนำมาวิเคราะห์คุณภาพ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติขั้นพื้นฐานแจกแจง  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

6.นิยามศัพท์

การบาดเจ็บศีรษะ

คำนิยามศัพท์ หมายถึงการบาดเจ็บที่เกิดจากแรงที่กระทบต่อศีรษะและร่างกายแล้วก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อหนังศีรษะกะโหลกศีรษะ สมองและเส้นประสาท ( Head injury mean complex mechanical loading to the head and/or the body that cause the to the scalp and skull and brain and cranial nerve)  โดยมีการแบ่งระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ ( Severity of head injury)  ใช้คะแนนของ GCS : Glasgow Coma Scale  เป็นหลักในการแบ่งความรุนแรง ดังนี้

  1. การบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย (Mild or Minor head injury) มี GCS score = 13-15
  2. การบาดเจ็บที่ศีรษะปานกลาง (Moderate head injury) มี GCS score = 9-12
  3. การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง (Severe head injury) มี GCS score = 3-8

คำนิยามเชิงปฏิบัติ  หมายถึง  ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่มารับรักษาที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน  รู้สึกตัวดี

มีระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยมีGCSscore =13-15 และมีแผลฉีกขาดที่ศีรษะที่ได้รับการวินิจฉัยว่าต้องได้การเย็บแผลในช่วงเดือน มกราคม–สิงหาคม 2562

        นวัตกรรม  หมอนน้อย  คอยรัก

 คำนิยามเชิงปฏิบัติ นวัตกรรม หมอนน้อย คอยรัก  ในการวิจัยครั้งนี้  หมายถึงวัสดุที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งได้จากการทบทวนการปฏิบัติ และค้นหารูปแบบวัสดุ เพื่อการช่วยในการห้ามเลือดในการเย็บแผลฉีกขาดที่ศีรษะ โดยผลิตนวัตกรรมเอง จากผ้าก๊อส เย็บเป็นรูปร่างก้อนคล้ายหมอนน้อย ทำเป็น 3 ขนาด  ส่งทำให้ปราศจากเชื้อก่อนจึงนำมาใช้งาน

  1. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คาดว่าจะได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
  2. เกิดการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อย ที่มีแผลฉีกขาด
  3. เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะเล็กน้อยที่มีแผลฉีกขาดที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลตามคุณภาพมาตรฐานและผ่านเกณฑ์การประเมิน
  4. นำนวัตกรรมหมอนน้อย คอยรัก ไปปรับใช้ในโรงพยาบาลชุมชนหรือสถานบริการสาธารณสุขที่มีบริบทใกล้เคียงกัน