foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
.

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

000843966
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
สถิติรวม
94
435
5042
834944
12160
15833
843966

Your IP: 3.139.81.210
2024-05-18 10:09

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

ได้รับรางวัล การนำเสนองานวิจัยประเภทโปสเตอร์ ชมเชย

 

  1. ชื่อผลงาน :

ความปลอดภัยและความพึงพอใจต่อการใช้ทิงเจอร์พญายอสูตรโรงพยาบาลจังหาร ในผู้ป่วยที่มีอาการ

คันตามผิวหนัง

 

  1. ชื่อเจ้าของผลงาน :

นายภูมิณรงค์ วาณิชย์พุฒิกุล ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ

สังกัด กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

โทร 095-6155454, 043-507122 ต่อ 124

 

  1. บทนำ :

กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบันมีการเปิดให้บริการคลินิกแพทย์แผนไทยคู่ขนานในแผนกผู้ป่วยนอก โรคที่พบได้บ่อยคือกลุ่มอาการระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในกลุ่มอาการที่น่าสนใจ คือ อาการคันตามผิวหนัง พบผู้ป่วยที่มีอาการคันตามผิวหนังเข้ารับบริการแพทย์ แผนไทยในปี 2558, 2559 และ 2560 จำนวน 10 คน, 54 คน และ 60 คนตามลำดับ ซึ่งโรงพยาบาลจังหารมียาแผนไทยที่ใช้รักษาอาการคันผิวหนัง คือ ครีมพญายอ โดยสั่งซื้อจากองค์การเภสัชกรรมในราคา 90 บาท/กล่อง ซึ่งเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ในพื้นที่อำเภอจังหารมีการปลูกต้นพญายอจำนวนมาก นิยมนำมาใช้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น ในกลุ่มอาการแมลงสัตว์ กัดต่อย ผื่น ลมพิษ คันตามผิวหนัง เริม งูสวัด พบว่าปลอดภัยต่อการใช้ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ดังนั้นจึงมีแนวความคิดในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากพญายอให้มีคุณภาพ มาตรฐาน สะดวกต่อการใช้ ลดต้นทุนการสั่งซื้อยา จึงได้นำพญายอมาผลิตเป็นยาแผนไทยชนิดทาภายนอกในรูปแบบของทิงเจอร์ ตามกรรมวิธีของบัญชียาหลักแห่งชาติ ประเภทยาแผนไทย โดยขอรหัสยาแผนไทย 24 หลัก มีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย ความพึงพอใจของผู้ใช้ เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ก่อนการนำมาใช้ในโรงพยาบาลจังหารและสนับสนุนให้ใช้ในเครือข่ายของอำเภอจังหารต่อไป

 

  1. วัตถุประสงค์ :
  2. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พญายอในรูปแบบทิงเจอร์สูตรโรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด
  3. เพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อยาแผนไทยจากองค์กรภายนอก
  4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจและอาการข้างเคียงของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ทิงเจอร์พญายอสูตรโรงพยาบาลจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

 

  1. เป้าหมาย :

เป็นการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน ตามหลักปรัชญาวิถีชีวิตพอเพียง ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน และลดต้นทุนการสั่งซื้อยาแผนไทยจากองค์กรภายนอก พัฒนาการผลิตยาแผนไทยในโรงพยาบาลจังหาร ให้มีคุณภาพมาตรฐานใช้ได้จริง

 

  1. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :

ในปี 2558 2559, และ 2560 จำนวนผู้รับบริการ 10 คน, 54 คน และ 60 คน ตามลำดับ พบว่ามีผู้ป่วยรักษาอาการคันตามผิวหนังด้วยครีมพญายอ และมีต้นทุนต่อครั้งของการให้บริการค่อนข้างสูง ในพื้นที่อำเภอจังหารมีการปลูกมีพญายออยู่เป็นจำนวนมาก กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงได้นำมาผลิตเป็นทิงเจอร์พญายอสูตรโรงพยาบาลจังหาร โดยต้นทุนขวดละ 6 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างถูก เมื่อเทียบกับราคาที่สั่งซื้อยาแผนไทยจากองค์กรภายนอก เมื่อมีผลิตภัณฑ์เป็นของตนเองแล้ว จึงต้องการศึกษาเพื่อยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้ยาแผนไทยชนิดนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้

 

  1. กิจกรรมการพัฒนา :

ทิงเจอร์พญายอ เป็นยาแผนไทยที่โรงพยาบาลจังหาร ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในโรงพยาบาลจังหารและในเครือข่าย โดยผลิตเป็นรูปแบบสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์จากใบพญายอสด (Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau) ( 2.91 % น้ำหนักต่อปริมาตร(w/v)) ตามมาตรฐานการผลิตยาแผนไทยระดับโรงพยาบาลชุมชน ราคาต้นทุนขวดละ 6 บาท ขนาดบรรจุขวดละ 30 มิลลิลิตร มีรหัสยาแผนไทย 24 หลัก คือ 410000000389500341911076 อนุมัติโดย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

 

  1. การวัดผล :

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ใช้การวัดผลด้วยการตอบคำถามในแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ และส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดเกี่ยวกับอาการข้างเคียงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนที่ 1 และ 2 และการจัดข้อมูลแบบกลุ่มเพื่อแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลในส่วนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผล และรายงานผลการศึกษาต่อไป

          จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 ราย เป็นชาย 8 ราย (40%) เป็นหญิง 12 ราย (60%) อายุเฉลี่ย 41.34 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส (80%) นับถือศาสนาพุทธ (100%) มีระดับการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา (80%) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (75%) มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท (80%) ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจในรูปแบบผลิตภัณฑ์ พึงพอใจมากที่สุด (77.5%) พึงพอใจมาก (18.5%) ปานกลาง (4%) และไม่พบผู้รับบริการที่ไม่พึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ทิงเจอร์พญายอ ในระดับมากที่สุด ส่วนที่ 3 อาการข้างเคียงหลังใช้ผลิตภัณฑ์ทิงเจอร์พญายอ พบอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้ รู้สึกแสบเล็กน้อยที่ผิวหนังตอนทาครั้งแรก 2 ราย (10%) นอกจากนี้ก็ไม่พบอาการข้างเคียงอื่นๆหรืออาการข้างเคียงร้ายแรงในกลุ่มตัวอย่าง จึงนับได้ว่าทิงเจอร์พญายอมีความปลอดภัยในการใช้ทาภายนอกบรรเทาอาการคันตามผิวหนัง มีคุณภาพดีใช้ได้จริงสามารถลดต้นทุนการสั่งซื้อยาและเป็นการส่งเสริมเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรในท้องถิ่นได้

 

          9. บทเรียนที่ได้รับ :

               1. การคัดเลือกวัตถุดิบ ควรคัดเลือกวัตถุดิบจากแหล่งปลูกที่มีคุณภาพ โดยเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการปลูกให้ถูกวิธีเพื่อให้ได้สารสำคัญในปริมาณที่สูง   

               2.รูปแบบของผลิตภัณฑ์ในอนาคตจะมีการพัฒนาให้สวยงามและน่าใช้มากยิ่งขึ้น

               3.การพัฒนาด้านการควบคุมคุณภาพให้ผลิตภัณฑ์มีอายุงานที่ยาวนานขึ้น

               4.การพัฒนาทักษะการผลิตยาของบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น